แผนภูมิจำนวนจริง
จำนวนตรรกยะ
สมบัติของจำนวนตรรกยะ
จำนวนตรรกยะ คือ จำนวนที่สามารถเขียนในรูปเศษส่วน a/b เมื่อ a และ b เป็นจำนวนเต็มโดยที่ b ไม่เท่ากับ 0 จำนวนตรรกยะ จำแนกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. จำนวนเต็ม (Integer) ประกอบไปด้วยจำนวนธรรมชาติ จำนวนลบ และจำนวนศูนย์ เซตของจำนวนเต็มมักเขียนอยู่ในรูป Z ซึ่งมาจากคำว่า Zahlen (ภาษาเยอรมัน)
2. เศษส่วน (Fraction)
3. ทศนิยม (Repeating decimal)
ในทางคณิตศาสตร์ จำนวนตรรกยะ (หรือเศษส่วน) คืออัตราส่วนของจำนวนเต็มสองจำนวน มักเขียนอยู่ในรูปเศษส่วน a/b เมื่อ a และ b เป็นจำนวนเต็ม และ b ไม่เท่ากับศูนย์
จำนวนตรรกยะแต่ละจำนวนสามารถเขียน
ได้ในรูปแบบที่หลากหลาย
ตัวอย่างเช่น
รูปแบบที่เรียกว่า เศษส่วนอย่างต่ำ a และ b นั้น a และ b จะต้องไม่มีตัวหารร่วม และจำนวนตรรกยะทุกจำนวนสามารถเขียนได้ในรูปเศษส่วนอย่างต่ำนี้
นอกจากนี้ จำนวนตรรกยะทุกจำนวนยัง
สามารถเขียนได้ในรูปของทศนิยมรู้
สามารถเขียนได้ในรูปของทศนิยมรู้
จบหรือทศนิยมซ้ำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
การเปลี่ยนเศษส่วนเป็นทศนิยม
แบบที่ 1 การทำให้เศษเป็น 10 ,100 , 1000 ,... โดยอาศัย
ความรู้เรื่องของเศษส่วนที่เท่ากัน เช่น
แบบที่ 2 ใช้หลักของการหารยาว เช่น
สรุป ::: ในเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนเศษส่วนให้เป็นทศนิยม เราจะได้ทศนิยมซ้ำศูนย์หรือทศนิยมที่ซ้ำตัวเลขอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
หมายเหตุ
==> ทศนิยมซ้ำศูนย์ เช่น
อ่านว่า ศูนย์จุดสี่ศูนย์ซํ้า
==> ทศนิยมซ้ำตัวเลข เช่น
อ่านว่า ศูนย์จุดห้าสี่ห้าสี่ซํ้า
การเปลี่ยนทศนิยมซ้ำให้เป็นเศษส่วน
ในที่นี้ขอแนะนำ 2 วิธี คือ
1.การทำให้ตัวที่ซ้ำกันหมดไปโดยการเอาค่าประจำตำแหน่งคูณเข้าไปทั้งสมการเพื่อให้เกิดสมการใหม่
2.ใช้สูตรลัด
จำนวนจริงที่ไม่ใช่จำนวนตรรกยะ เรียกว่าจำนวนอตรรกยะ
จำนวนอตรรกยะ
จำนวนอตรรกยะ(irrational Number) คือจำนวนที่ไม่สามารถเขียนในรูปเศษ ส่วนa/b เมื่อa และbเป็นจำนวนเต็มโดยที่
bไม่เท่ากับ 0 หรือจำนวน อตรรกยะคือจำนวนที่ไม่ใช่จำนวนตรรกยะนั่นเองจำนวนอตรรกยะจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ใหญ่คือ
1.จำนวนติดกรณ์บางจำนวนเช่นเป็นต้น
2.จำนวนทศนิยมไม่ซ้ำเช่น 5.18118168473465
ตัวอย่างของจำนวนอตรรกยะ เช่น
1.234567891011121314
3.4323223222...
16.79779777977779...
-4.399339933399...
จากตัวอย่างข้างต้น นักเรียนสังเกตเห็นว่า เราไม่สามารถจัดชุดตัวเลขหลังจุดทศนิยมของจำนวนอตรรกยะแต่ละจำนวน ให้เป็นชุดตัวเลขที่ซ้ำกันได้
หมายเหตุ p ซึ่งประมาณได้ด้วย 22/7 แต่จริงๆแล้วpเป็นเลข
ในการศึกษาเรื่องของจำนวนจริง เราแบ่งจำนวนจริงออกได้เป็น 2 ประเภท คือ จำนวนตรรกยะ และ จำนวนอตรรกยะ จำนวนตรรกยะคือจำนวนที่สามารถเขียนได้ในรูปของทศนิยมรู้จบหรือทศนิยมแบบไม่ รู้จบแบบซ้ำได้Pi เป็นจำนวนจริงที่มีค่าเท่ากับอัตราส่วนของเส้นรอบวงของวงกลมกับเส้นผ่าน ศูนย์กลางของวงกลม โจนส์ (William Jones) เป็นบุคคลแรกที่นำเอาอักษรกรีก Pi มาใช้ โดยให้มีค่าเท่ากับ อัตราส่วนดังกล่าว ซึ่งท่านนำมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1706 ในหนังสือ A New Introduction to the Mathematics แต่ยังไม่เผยแพร่จนกระทั่ง ออยเลอย์ (Leonhard Euler) ได้นำเอาการกำหนดค่าของ Pi ดังกล่าวมาใช้ในงานของท่านมากมาย จนกระทั่งเป็นที่ยอมรับและใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้
ถ้าเราย้อนไปดูอดีตของความพยายามในการหาค่าของอัตราส่วนของเส้นรอบวงกลมกับ เส้นผ่านศูนย์กลางเราจะ พบว่าในสมัยเริ่มต้นค่านี้จะถูกประมาณด้วย 3 ชาวอิยิปต์ให้ค่า Pi ไว้ เท่ากับ 3.1604 อาร์คีมีดีส (Archimedes) ได้ให้ของเขตของค่า Pi ไว้ว่า ค่า Pi จะมีค่าอยู่ระหว่าง 22/7 กับ 223/71 ซึ่งให้ความถูกต้องของค่า Piไ ด้ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 2ว่ามีค่าเท่ากับ 3.14 สำหรับวิธีที่ อาร์คีมีดีสใช้เป็นวิธีการเพิ่มจำนวนรูปหลายเหลี่ยมลงในวงกลม วิธีดังกล่าวได้ถูกนักคณิตศาสตร์ท่านอื่นมาปรับปรุงเพื่อใช้หาค่า Pi ที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆ รวมทั้งการใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวณหาค่า นอกจากความพยายามในการหาค่าที่แท้จริงของค่า Pi แล้วก็ยังมีนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อลัมแบร์ต (Johann Heinrich Lambert) ได้พิสูจน์ว่า Pi เป็นจำนวนอตรรกยะ โดยที่ท่านได้แสดงการพิสูจน์ว่า ถ้า x เป็นจำนวนตรรกยะที่ไม่เท่ากับศูนย์ แล้ว tan x ต้องไม่เป็นจำนวนตรรกยะ เนื่องจาก tan = 1 ผลที่ตามมาก็คือ Pi/4 หรือ Pi ต้องไม่เป็นจำนวนตรรกยะ
แหล่งที่มา
https://sites.google.com/site/bumbim54811426/...tn.../2-1canwntrrkya
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-988.html
เนื้อหาดีค่ะแต่ปรับสีอักษรนิดนึงเรามองไม่เห็น55
ตอบลบใช่ครับประมาณนั้นคับ
ตอบลบปรับสีตัวอักษรด้วยค่ะ
ตอบลบสีตัวอักษรอ่านยากไปนิดค่ะ
ตอบลบ3.14เป็นจำนวนไรครับ
ตอบลบเนื้อหาดีมากค่ะ ปรับสีอีกนิดนะค่ะ จะดีมาก
ตอบลบ