แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องตรรกยะ


แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2
จำนวนตรรกยะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2                                                       ภาคเรียนที่ 2 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง                                                            เวลา 3 ชั่วโมง

1. สาระสำคัญ
          จำนวนตรรกยะ คือ จำนวนที่เขียนในรูปเศษส่วน a/b เมื่อ a และ b เป็นจำนวนเต็มที่ b o เราสามารถเขียนจำนวนตรรกยะให้อยู่ในรูปทศนิยมซ้ำได้ โดยการนำจำนวนตรรกยะที่เป็นตัวส่วนหารตัวเศษ ในทำนองเดียวกัน เราก็สามารถเขียนทศนิยมซ้ำให้อยู่ในรูปเศษส่วนได้เช่นกัน
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
1.  เขียนเศษส่วนในรูปทศนิยมและเขียนทศนิยมซ้ำในรูปเศษส่วน (ค 1.1 ม. 2/1)
2.  จำแนกจำนวนจริงที่กำหนดให้ และยกตัวอย่างจำนวนตรรกยะและจำนวนอตรรกยะ
    (ค 1.1 ม. 2/2) 
3.  อธิบายและระบุรากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริง (ค1.1 ม.2/3)
4หารากที่สองและรากที่สามของจำนวนเต็มโดยการแยกตัวประกอบและนำไปใช้ในการแก้ปัญหา
    พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ (ค 1.2 . 2/1) 
5.  อธิบายผลที่เกิดขึ้นจากการหารากที่สองและรากที่สามของจำนวนเต็ม เศษส่วน และทศนิยม
    บอกความสัมพันธ์ของการยกกำลังกับการหารากของจำนวนจริง (ค 1.2 . 2/2)
6.  หาค่าประมาณของรากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริงและนำไปใช้ในการแก้ปัญหาพร้อมทั้ง
    ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ (ค 1.3 . 2/1)
7.  บอกความเกี่ยวข้องของจำนวนจริงจำนวนตรรกยะและจำนวนอตรรกยะ (ค 1.4 . 2/1)
8ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา (6.1 . 2/1)
9ใช้ความรู้ ทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาใน 
    สถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม (6.1 . 2/2)
10. ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม (6.1 . 2/3)
11. ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอ
     ได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน (6.1 . 2/4)
12. เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และนำความรู้ หลักการ กระบวนการทางคณิตศาสตร์
    ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ (6.1 . 2/5)
13. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (6.1 . 2/6)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
  1. เขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปทศนิยมซ้ำ และเขียนทศนิยมซ้ำให้อยู่ในรูปเศษส่วนได้ (K)
  2. ระบุหรือยกตัวอย่างจำนวนจริง จำนวนตรรกยะได้ (K)
  3. บอกความเกี่ยวข้องระหว่างจำนวนเต็ม จำนวนตรรกยะได้ (K)
 4. ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบจากการคำนวณและการแก้ปัญหาได้(K)
       5. ทำงานเป็นระเบียบเรียบร้อย รอบคอบ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง (A)
           6. การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมาย การนำเสนอและการเชื่อมโยงหลักการความรู้
    ทางคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น (P)
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
วิธีการวัดผลและการประเมินผล
เครื่องมือวัดและประเมินผล
เกณฑ์การวัด
1. ตรวจผลการทำแบบทดสอบก่อนเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
2. สังเกตจากการซักถาม การแสดง  
แบบบันทึกผลการอภิปราย
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป
   ความคิดเห็น การให้ข้อเสนอแนะ
แบบบันทึกความรู้

   และการอภิปรายร่วมกัน


3. ตรวจผลการปฏิบัติตามใบงานที่ 1.2
ใบงานที่ 1.2
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป
4. ตรวจผลการทำแบบฝึกหัดที่ 1.1
แบบฝึกหัดที่ 1.1
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม (A)
วิธีการวัดผลและการประเมินผล
เครื่องมือวัดและประเมินผล
เกณฑ์การวัด
1. สังเกตพฤติกรรมขณะทำงาน
แบบประเมินพฤติกรรมขณะ
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป
   ร่วมกับกลุ่ม
  ทำงานร่วมกับกลุ่ม

2.ประเมินพฤติกรรมตามรายการด้านคุณธรรม 
แบบประเมินด้านคุณธรรม
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป
   จริยธรรมและค่านิยม
  จริยธรรม และค่านิยม

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
วิธีการวัดผลและการประเมินผล
เครื่องมือวัดและประเมินผล
เกณฑ์การวัด
1. สังเกตพฤติกรรมการสื่อสาร
แบบประเมินด้านทักษะ/
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป
   การเชื่อมโยงหลักการความรู้
  กระบวนการ

   ทางคณิตศาสตร์


2. ประเมินพฤติกรรมตามรายการ


   ประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ


3. สังเกตขณะการปฏิบัติตามใบงาน


ที่ 1.2 และแบบฝึกทักษะ 1.1



5. สาระการเรียนรู้
 จำนวนตรรกยะ
6. แนวทางบูรณาการ
         ภาษาไทย                     นำเสนอจำนวนตรรกยะด้วยวิธีต่าง ๆ
         สังคมศึกษาฯ               นำความรู้เรื่องจำนวนตรรกยะไปใช้ในชีวิตประจำวัน
         ภาษาต่างประเทศ นำเสนอจำนวนตรรกยะด้วยวิธีต่าง ๆ ด้วยภาษาต่างประเทศ
         การงานอาชีพฯ             ทำแผ่นพับ ใบความรู้เกี่ยวกับจำนวนตรรกยะโดยใช้คอมพิวเตอร์
7. กระบวนการจัดการเรียนรู
ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน
 1. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 30 ข้อ (30 คะแนน)
 2. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
 3. ทบทวนโครงสร้างของจำนวน โดยครูนำแผ่นโครงสร้างของจำนวนติดบนกระดาน แล้ว
ให้นักเรียนพิจารณาว่าจำนวนจริงประกอบด้วยจำนวนใดบ้าง แล้วจำนวนตรรกยะประกอบด้วยจำนวนใดบ้าง
ขั้นที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้
           1. ให้นักเรียนยกตัวอย่างจำนวนตรรกยะที่เป็นจำนวนเต็ม ครูเขียนจำนวนเต็มที่นักเรียนยกตัวอย่างบนกระดาน
           2. ครูเขียนจำนวนต่อไปนี้เช่น
                 บนกระดานแล้วถามนักเรียนว่า
                    – จำนวนเหล่านี้ใช่จำนวนเต็มหรือไม่
                    – ถ้าเป็นจำนวนเต็ม จำนวนเหล่านี้ก็คือจำนวนตรรกยะใช่หรือไม่
                    – แล้ว ใช่จำนวนตรรกยะหรือไม่ อย่างไร
              6. ให้นักเรียนยกตัวอย่างจำนวนตรรกยะทีละคน
              7. ให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ  1.1 จำนวนตรรกยะ
              8. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียนเรื่อง จำนวนตรรกยะ            
              9.  ครูเขียน  0.2 บนกระดาน แล้วถามนักเรียนว่า  0.2 ใช่จำนวนตรรกยะหรือไม่
                  นักเรียนมีวิธีการคิดอย่างไร
              10. ครูเขียน
 บนกระดาน แล้วให้นักเรียนหาผลหาร แล้วถามนักเรียนว่า
                    1) มีค่าเท่าไร
                    2)เป็นจำนวนตรรกยะหรือไม่
                    3) แล้ว 0.2 เป็นจำนวนตรรกยะหรือไม่
              11. ให้นักเรียน การเขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปทศนิยม
              12. นักเรียนช่วยกันสรุปวิธีการเขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปทศนิยม
              13. ครูเขียนทศนิยมไม่ซ้ำบนกระดาน เช่น 0.5, 1.26, -8.02 แล้วให้นักเรียนช่วยกันเขียน
                    ให้อยู่ในรูปเศษส่วน
              14. ครูเขียนทศนิยมซ้ำบนกระดาษเช่น 0.4444... แล้วให้นักเรียนหาวิธีการเขียนทศนิยม
                    ดังกล่าวให้อยู่ในรูปเศษส่วน
              15. ครูยกตัวอย่างการเขียนทศนิยมซ้ำให้อยู่ในรูปเศษส่วนบนกระดานให้นักเรียนสังเกตขั้นตอนในการแสดงและซักถามในขั้นตอนที่ไม่เข้าใจ
              16. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเขียนทศนิยมซ้ำให้อยู่ในรูปเศษส่วน
              17. นักเรียนช่วยกันสรุปวิธีการเขียนเศษส่วนซ้ำให้อยู่ในรูปทศนิยม
ขั้นที่ 3 ฝึกฝนผู้เรียน
            1. ให้นักเรียนทำกิจกรรมฝึกหัด 1.1
            2. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานำเสนอคำตอบกิจกรรมฝึกหัด 1.1
ขั้นที่ 4 การนำไปใช้
นำความรู้เรื่องนี้ไปใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์และสาระอื่นต่อไป
ขั้นที่ 5 สรุปความคิดรวบยอด
นักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียนเรื่อง จำนวนตรรกยะ โดยครูให้ความช่วยเหลือและแนะนำเพื่อ
     ความสมบูรณ์ของบทเรียน
8. กิจกรรมเสนอแนะ
            เล่นเกมเกี่ยวกับเรื่องจำนวนตรรกยะได้อย่างสนุกสนานและสร้างสรรค์ หรือนักเรียนจัดทำแบบทดสอบแบบปรนัยจำนวน 20–30 ข้อ (ซึ่งครูสามารถคัดเลือกมาเป็นแบบทดสอบนักเรียนได้)
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
            1. แผ่นโครงสร้างของจำนวน
            2. แบบฝึกหัด 1.1 เรื่อง จำนวนตรรกยะ 
            3. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 2 เล่ม 2
       แหล่งการเรียนรูเพิ่มเติม
            1. หนังสือเสริมความรู้คณิตศาสตร์
            2. สื่อการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
            3. อินเทอร์เน็ต ข้อมูลในการศึกษาเรื่อง จำนวนตรรกยะ

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้

ห้อง
นักเรียนที่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้(จำนวน)
คิดเป็น
ร้อยละ
นักเรียนที่ไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้(จำนวน)
คิดเป็น
ร้อยละ
รายชื่อนักเรียนที่ไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้
. 2 /





. 2 /





. 2 /





. 2 /





. 2 /






สาเหตุที่ไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ปัญหา / อุปสรรค
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ข้อเสนอแนะ

........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

แหล่งที่มา
www.cbs.ac.th/upload/myfile/จำนวนจริง%20(ซ่อแซ).docx








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น